โตเกียว: ขุมทรัพย์แห่งอาหารเลิศรสที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหลาย ๆ คนในญี่ปุ่น
โตเกียวตั้งอยู่ใจกลางหมู่เกาะญี่ปุ่นโดยประมาณ ซึ่งเป็นมหานครที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในฐานะเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันเป็นที่อยู่ของประชากรจำนวนประมาณ 13 ล้านคน ทั้งนี้ ถึงแม้จะเป็นมหานครที่เล็กที่สุดอันดับสามของญี่ปุ่นเมื่อยึดตามพื้นที่ทางบก แต่โตเกียวก็มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยภูมิประเทศที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมเทือกเขาคันโตที่ทอดยาวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เนินเขาทามะ ที่ราบสูงมูซาชิโนะ ที่ราบลุ่มระดับน้ำทะเล และหมู่เกาะอิซุและหมู่เกาะโอกาซาวาระ
ผู้ร่วมรายงาน: Yanagihara Cooking School of Traditional Japanese Cuisine
ตระกูลโชกุนโทกูงาวะเป็นตระกูลที่คงอยู่ประมาณ 260 ปีหลังจากที่โทกูงาวะ อิเอยาซุก่อตั้งรัฐบาลทหารขึ้นในปี ค.ศ. 1603 ด้วยภายใต้ระบบซันกินโคะทะอิ ผู้คนจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศได้ริเริ่มมาเยือนเอโดะ และประกอบกับนโยบายแบ่งแยกดินแดนของญี่ปุ่นในขณะนั้น ทำให้วัฒนธรรมของเอโดะมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นภาพพิมพ์อุกิโยะ วรรณกรรม และทุนทางปัญญา ดังนั้น จึงคงไม่ต้องบอกแล้วว่า วัฒนธรรมด้านอาหารก็ก่อตัวขึ้นมาอย่างน่าทึ่งในหมู่ชาวเมืองเอโดะเช่นกันในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมของคนทั่วไปและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเอโดะแห่งนี้อนึ่ง ด้วยการมาของร้านอาหารสไตล์ตะวันตกที่มาพร้อมกับความรุ่งเรื่องทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น รายการทำอาหารของโตเกียวก็ได้ขยายแผ่ออกไปมากขึ้น ทำให้อาหารท้องถิ่นของโตเกียว ซึ่งมีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ล้วนมีร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว
โตเกียวสามารถแบ่งภูมิภาคออกมาคร่าว ๆ เป็นสี่ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่เอโดมาเอะ/ชิตามาจิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รักษาบรรยากาศย้อนยุคสมัยเอโดะไว้ ลุ่มน้ำทามะและพื้นที่โอคุทามะที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันเขียวชอุ่ม ในขณะที่พื้นที่หมู่เกาะอิซุ ก็เป็นพื้นที่ที่ขยายออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกและมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ทั้งนี้ เรามาดูลักษณะอันโดดเด่นของแต่ละพื้นที่และวัฒนธรรมด้านอาหารแบบใกล้ชิดมากขึ้นกันเถอะ
<เอโดมาเอะ/ชิทามาจิ>
แหล่งของอาหารเอโดมาเอะที่มีวิวัฒนาการมาจากซุ้มขายอาหารในยุคสมัยเอโดะ
อาหารเอโดะเริ่มมีวิวัฒนาการหลากหลายรูปแบบหลังจากที่เอโดะซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองมุซาชิโนะและอ่าวเอโดะที่ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำสุมิดะได้กลายเป็นที่นั่งของตระกูลโชกุน โดยแม่น้ำที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ส่วนในสุดของอ่าวเอโดะได้นำพาน้ำจากทุ่งนารอบลุ่มน้ำและไหลลงมาตามกระแสน้ำในขณะที่ปลาต่าง ๆ ก็ได้รับอาหารบนสารอินทรีย์ที่อุดมสมบูรณ์จากน้ำแห่งนี้ไปด้วย ด้วยเหตุนี้เอง ในสมัยเอโดะตอนต้น ปลาไหลและปลาไหลยักษ์ที่ได้รับอาหารที่ดี รวมทั้งหอยต่าง ๆ อาทิ หอยกาบและหอยเป็ดจึงเป็นสัตว์ที่สามารถจับได้ในปริมาณมากในบริเวณแม่น้ำอาซากุสะและแม่น้ำฟุกะ
ในขณะนั้น คนทั่วไปนิยมปรุงปลาไหลโดยการเอากระดูกสันหลังของปลาไหลออกก่อน จากนั้นนำมาเสียบไม้ย่าง แล้วนึ่งต่อ และสุดท้ายก็นำไปราดซอสแล้วย่างใหม่อีกครั้ง ซึ่งเทคนิคการทำอาหารสไตล์เอโดะแนวนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “เอโดมาเอะ” และต่อมาเมื่อวัฒนธรรมยะไต (ซุ้มขายอาหาร) เริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาหารต่าง ๆ เช่น ซูชิ เทมปุระ และบะหมี่โซบะที่ใช้ปลาเอโดมาเอะก็ได้เริ่มปรากฏขึ้นที่ซุ้มขายอาหารเหล่านี้ ซึ่งสิ่งนี้ได้นำไปสู่คำว่า “เอโดมาเอะ” ที่ค่อย ๆ มีการปรับเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เป็นแค่การบ่งบอกถึงเทคนิคการทำอาหารเท่านั้น แต่ให้รวมถึงสไตล์การทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของเอโดะด้วย
ซูชิและเทมปุระเป็นอาหารที่โดดเด่นไม่ใช่แค่ในโตเกียวเท่านั้น แต่ยังทั่วทั้งญี่ปุ่นอีกด้วย โดยซูชิเอโดมาเอะนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะในเรื่องการใช้ข้าวที่ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูหมักไวน์แดง เช่นเดียวกับส่วนผสมที่ปรุงด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโดยการเคี่ยว นึ่ง ต้ม แช่ในเนื้อหมักในซอสถั่วเหลือง ห่อด้วยคอนบุ และปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู โดยส่วนผสมดังกล่าว ประกอบด้วย ปลาแชดและปลาแมคเคอเรลที่หมักด้วยน้ำส้มสายชู และส่วนผสมปรุงสุกต่าง ๆ อาทิ ปลาไหลยักษ์ต้ม กุ้งนึ่ง และไข่เจียว ขณะเดียวกัน ในส่วนของเทมปุระนั้น เทมปุระในเอโดะจะทำมาจากการเคลือบอาหารทะเลในแป้งเป็นลำดับแรกก่อนที่จะนำไปทอดในน้ำมันงาจนเป็นสีน้ำตาลทอง ส่วนเทมปุระจากภูมิภาคคามิกาตะ (คันไซ) จะทำมาจากทอดมันปลา
บุคคาเคะเมชิ เมนูยอดฮิตของชาวประมง
ส่วนของแม่น้ำโอโยโกะที่ไหลไปทางทิศใต้จากพื้นที่เอไตและซากะของโคโตะคุในปัจจุบัน เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าฟุคางาวะอุระ เป็นเมืองประมงที่สามารถมองเห็นเนินทรายเมื่อน้ำลด ทำให้มีหอยชนิดต่าง ๆ เช่น หอยกาบ หอยแข็งเอเชีย และหอยเป็ดให้จับมากมาย ทั้งนี้ บุคคาเคะเมชิ อาหารที่ชาวประมงในเมืองเคยทานบนเรือเป็นอาหารจานด่วน ในปัจจุบันได้มีการพัฒนามาเป็น “ฟุคากาว่าเมชิ” ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าบุคคาฯ เป็นอาหารง่าย ๆ และสะดวกสบาย แต่ชาวประมงก็ยังนำฟุคากาว่าเมชิมาปรุงให้อร่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่ดี อย่างไรก็ตาม ฟุคากาว่าเมชิเคยหายไปเป็นระยะเวลาหนึ่งเนื่องจากมลพิษทางน้ำในแม่น้ำและงานถมดิน แต่เนื่องด้วยการจัดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียงและด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในพื้นที่มากขึ้น อาหารชนิดนี้จึงถูกรื้อฟื้นคืนมาได้สำเร็จอีกครั้งและยังคงเป็นอาหารพื้นเมืองที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวแม่น้ำฟุกะต่อไป
ตามรอยรสชาติอาหารปรุงเองที่บ้านกับรสชาติอาหารภายใต้ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
หลังจากที่จักรพรรดิเท็มมุได้ออกคำสั่งห้าม "บริโภคเนื้อสัตว์" ในปี ค.ศ. 675 แล้วนั้น การบริโภคโคและม้าในที่สาธารณะได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสัตว์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการใช้แรงงานให้กับคน อย่างไรก็ดี การห้ามดังกล่าวนี้ได้ถูกยกเลิกหลังจากที่มีการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ เพราะว่าวัวและม้ามีคุณค่าต่อการใช้เป็นแรงงาน ประกอบกับเชื่อกันว่าการกินสัตว์เหล่านี้จะเป็นการนำกรรมร้ายมาสู่ตน ทั้งนี้ สตูว์เนื้อหรือ สุกี้ยากี้ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารอันโอชะสำหรับผู้ที่ได้รับการปลดปล่อยจากการห้ามบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้
จากการเปิดท่าเรือโยโกฮาม่าและการก่อตั้งสถานกงสุลอังกฤษในย่านทาคานาวะของเอโดะ โรงงานแปรรูปเนื้อวัวจึงได้ถูกสร้างขึ้นในเขตชิบะ-ชิโรคาเนะ ซึ่งตามมาด้วยเมนูสตูว์เนื้อที่ได้รับความนิยมอย่างค่อยเป็นค่อยไปในฐานะอาหารอันโอชะในหมู่คนทั่วไปในเอโดะ แม้กระทั่งทุกวันนี้ เรายังสามารถพบร้านอาหารเก่าแก่แบบย้อนยุคไปในสมัยนั้นมากมายได้ในย่านอาซากูสะ โดยที่สตูว์เนื้อยังคงอร่อยเป็นอาหารอันโอชะอันโดดเด่นสำหรับหลาย ๆ ครอบครัวด้วย
อาหารตะวันตกค่อย ๆ ริเริ่มนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นภายใต้ฤกษ์มงคลจากหลักคำสอนเรื่องวัฒนธรรม โดยอาหารสไตล์ตะวันตกถูกเสิร์ฟครั้งแรกในพื้นที่ชุมชนต่างประเทศในอำเภอสึกิจิในช่วงยุคสมัยเมจิตอนต้น และช่วงก่อนปี ค.ศ. 1897 มีร้านอาหารสไตล์ตะวันตกประมาณ 40 แห่งที่สร้างขึ้นในพื้นที่ โดยอาหารที่มีการปรุงเองที่บ้านในปัจจุบัน อาทิ โคร็อกเกะ เนื้อแผ่น และไข่เจียว จะเป็นอาหารที่เสิร์ฟเฉพาะในร้านอาหารเท่านั้นในขณะนั้นจนกระทั่งถึงยุคไทโชที่อาหารเหล่านี้ได้กลายเป็นรายการอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน ทั้งนี้ อาหารประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นไปจนถึงอาหารตะวันตกก็ได้ถูกคิดค้นขึ้นในโตเกียวในช่วงยุคสมัยเมจิและไทโช
<ลุ่มน้ำทามะ>
ส่วนประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ที่หล่อเลี้ยงด้วยลักษณะเฉพาะของแผ่นดิน
บริเวณทิศตะวันตกของโตเกียวนั้นเป็นบริเวณที่คั่นด้วยแม่น้ำทามะ โดยมีที่ราบสูงมูซาชิโนะและเนินเขาทามะที่เป็นลูกคลื่นที่ทอดยาวจากเทือกเขาคันโต ซึ่งเมื่อจำนวนประชากรของโตเกียวเพิ่มขึ้น ภูมิภาคนี้จึงได้รับการพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของเมืองสัญจรไปมา แต่ถึงกระนั้นในทุกวันนี้ แม่น้ำทามะก็ยังคงรักษาลักษณะทางธรรมชาติในอดีตไว้ในรูปแบบของอุทยานธรรมชาติและความเขียวขจี ทำให้มีภูมิทัศน์เมืองที่โดดเด่นซึ่งแตกต่างจากเขตการปกครองพิเศษในโตเกียวทั้ง 23 เขตเสียอีก 23 區的街景是此區的特徵。
เนื่องจากพื้นที่รอบ ๆ เมืองโชฟุไม่เหมาะสำหรับการผลิตข้าว เกษตรกรผู้เช่าในช่วงสมัยเอโดะจึงใช้พื้นที่นี้ในการผลิตแป้งบัควีทแทน ซึ่งมักนำเสนอให้กับวัดจินไดจิ โดยเชื่อกันว่าการปฏิบัตินี้เป็นที่มาของ “จินไดจิโซบะ” แป้งบัควีทเป็นแป้งที่บดโดยใช้หินโม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะในเรื่องกลิ่นที่หอมสดใส เนื้อสัมผัสที่เหนือชั้น และความดีเลิศ ซึ่งโทกูงาวะ อิเอมิตสึ โชกุนคนที่สามของตระกูลโทกูงาวะ ได้ยกย่องโซบะที่เขากินที่วัดจินไดจิในระหว่างเดินทางเที่ยวดูเหยี่ยว ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การเพาะปลูกโซบะเริ่มเกิดขึ้นในพื้นที่ของวัด และในเวลาต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางรถโดยสาร ผู้คนก็ได้เริ่มเดินทางมาเยี่ยมชมความเขียวขจีรอบ ๆ วัดจินไดจิและ สวนพฤกษศาสตร์จินไดกันมากขึ้น โดยบริเวณรอบ ๆ วัดจินไดจิได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ยังคงมีชื่อเสียงด้านโซบะมาจนถึงทุกวันนี้
ในขณะเดียวกัน ที่ดินรอบ ๆ เขตเนริมะนั้น เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชมากที่สุด ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดความเจริญเป็นพื้นที่ผลิตหัวไชเท้าไดคน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการทำผักดองของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ด้วยจำนวนประชากรของเอโดะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีครัวเรือนจำนวนสองสามครัวเรือนได้ทำผักดองเองซึ่งปกติเป็นผลิตภัณฑ์ที่มักซื้อจากร้านค้ามากกว่า ด้วยเหตุนี้ หัวไชเท้าไดคนที่ปลูกในเขตเนริมะจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำผักดอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทาคุอัน (ของดองซึ่งทำจากการนำหัวไชเท้าตากแบบกึ่งแห้ง ไปดองในรำข้าว หรือเกลือ) กับเบตตะระสึเคะ และในที่สุดส่วนประกอบนี้ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นผักที่สำคัญของเอโดะโตเกียวเลยทีเดียว อีกทั้งในทุกวันนี้ ผักดองเบตตะระสึเคะที่ทำจากหัวไชเท้าเนริมะไดคนนั้นได้มีการนำมาจัดแสดงเป็นจุดเด่นของตลาดเบตตาระด้วย ซึ่งการจัดแสดงดังกล่าวถือเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่สมัยเอโดะ ดังนั้น เนื้อสัมผัสอันยอดเยี่ยมและความหวานอันเป็นเอกลักษณ์ของหัวไชเท้าไดคนจึงมีความสมบูรณ์แบบ เป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการทำผักดองในโตเกียวในปัจจุบัน
<โอคุทามะ>
ความสามารถของอาหารพื้นเมืองในการเติมชีวิตชีวาให้กับพื้นที่
โอคุทามะได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่พลุกพล่านในปัจจุบัน โดยมีภูเขาโอคุทามะเป็นภูเขาที่สูงชันที่สุดในโตเกียว ด้วยเหตุนี้ การปลูกข้าวในโอคุทามะจึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน การเพาะปลูกข้าวสาลีและบัควีทกลับมีความรุ่งโรจน์ในบริเวณดังกล่าวแทน เนื่องจากครัวเรือนในพื้นที่ส่วนใหญ่เคยทำงานบนภูเขามาก่อน ดังนั้น อุด้งเคี่ยว “โนชิโกมิอุด้ง” จึงกลายเป็นอาหารอันทรงคุณค่าในฤดูหนาว โดยมีสไตล์การรับประทานแบบโอคุทามะ ซึ่งก็คือการทำให้อุด้งร้อนขึ้นและเพลิดเพลินไปกับการรับประทานในขณะที่อุด้งกำลังร้อนจัด ทั้งนี้ อาหารชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นผลไม้แห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติควบคู่ไปกับการปกปักรักษาลักษณะเฉพาะของแผ่นดินที่นี่
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของโอคุทามะในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีน้ำบริสุทธิ์ก็คือวาซาบิโอคุทามะ ซึ่งเป็นพืชที่การเพาะปลูกมีความรุ่งโรจน์มาตั้งแต่สมัยเอโดะ เนื่องจากน้ำพุที่โอคุทามะมีออกซิเจนสูง ทำให้สภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกวาซาบิมีความสมบูรณ์แบบ ในขณะที่อุณหภูมิของน้ำที่เย็นก็ทำให้วาซาบิกระชับและฉุนมากขึ้นด้วย ซึ่งผลลัพธ์ก็คือวาซาบิมีคุณภาพที่ยอดเยี่ยมและเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ทั้งนี้ วาซาบิดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของซูชิเอโดมาเอะและเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัฒนธรรมอาหารของโตเกียวอีกด้วย
โอคุทามะกำลังพยายามผลักดันแผนกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยส่วนหนึ่งก็คือการสร้างความนิยมให้กับเมนูพื้นเมืองสุดพิเศษ เช่น “จิสุเกะ-อิโมะ โนะ เนกิ-มิโซะ” ซึ่งทำมาจากมันฝรั่งจิสุเกะ โดยเป็นอาหารขึ้นชื่อในโอคุทามะ และ “โอคุทามะ วาซาบิ โนะ โตเกียว-เอ็กซ์ มากิ” ซึ่งเป็นอาหารจานเด็ดที่เป็นการผสมระหว่างเนื้อหมูและวาซาบิโอคุทามะ เป็นต้น ทั้งนี้ แง่มุมที่น่าสนใจที่สุดอย่างหนึ่งของอาหารพื้นเมืองก็คือวิธีการปรุงอาหารที่ก้าวข้ามขอบเขตที่มีอยู่และแหวกพื้นที่การปรุงอาหารแบบใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการส่งต่อรสชาติแบบดั้งเดิมให้กับคนรุ่นต่อไปในอนาคต
<หมู่เกาะอิซุ>
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของเกาะอันงดงามเหล่านี้
หมู่เกาะอิซุประกอบด้วยเกาะส่วนตัวมากกว่า 100 เกาะ โดยใช้เวลาอย่างน้อยหกชั่วโมงในการเดินทางจากท่าเรือทาเคชิบะในโตเกียวไปยังเกาะโอชิมะ อีกทั้ง ณ ปัจจุบัน ในหมู่เกาะดังกล่าว มีเกาะที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวน 9 เกาะ ได้แก่ เกาะโอชิมะ เกาะโทชิมะ เกาะนิอิจิมะ เกาะชิคิเนะชิมะ เกาะโคสึชิมะ เกาะมิยาเกะจิมะ เกาะมิคุระจิมะ เกาะฮาจิโจจิมะ และเกาะอาโอกาชิมะ ทั้งนี้ ด้วยสภาพอากาศอันอบอุ่น น้ำทะเลสีครามของหมู่เกาะอิซุจึงเป็นที่ดึงดูดตาดึงดูดใจของเหล่านักเล่นเซิร์ฟและนักดำน้ำจำนวนมาก ในขณะที่เกาะภูเขาไฟของหมู่เกาะฯ ก็ดึงดูดนักปีนเขาเข้ามาจำนวนมากเช่นกัน
“ชิมะซูชิ” และ “คุซายะ (ปลาแห้ง)” เป็นอาหารท้องถิ่นสองอย่างที่โดดเด่นของหมู่เกาะอิซุ รวมทั้งสึเคะ (ปลาทูน่าหมักซอสโชยุ) ซึ่งเป็นส่วนผสมสุดคลาสสิกของเอโดะมาเอะซูชิ โดยเฉพาะในส่วนของสึเคะ แต่เดิมเทคนิคในการเตรียมฯ ได้ริเริ่มขึ้นจากหมู่เกาะอิซุ ซึ่งเนื่องด้วยสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าที่อื่น ทำให้ส่วนผสมของเอโดะมาเอะซูชิจำเป็นต้องถูกแช่ไว้ในน้ำดองเพื่อรักษาความสดไว้เก็บบริโภคต่อไปได้ ขณะเดียวกัน ปลาทูน่าที่ใช้ทำสึเคะที่แหวกว่ายอยู่ในทะเลเปิดนั้น ในสมัยเอโดะเคยถูกมองว่าเป็นปลาคุณภาพต่ำ เนื่องจากเป็นปลาที่เน่าเสียเร็วมากจนคุณภาพตัวปลาเสื่อมสภาพก่อนที่จะมาถึงย่านนิฮงบาชิเสียอีก อย่างไรก็ตาม เทคนิคสึเคะกลับเป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในสมัยเอโดะ เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่การผลิตซีอิ๊วได้เฟื่องฟูแล้ว ด้วยเหตุนี้ ปลาทูน่าจึงกลายเป็นอาหารอันโอชะที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหมู่ชาวเอโดะ อีกทั้งมูลค่าของปลายังเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน
“คุซายะ (ปลาแห้ง)” เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงเมื่อมีการหยิบยกหัวข้อเกี่ยวกับอาหารสุดพิเศษของเอโดะ ซึ่งอาจเป็นเพราะกลิ่นเฉพาะตัวของอาหาร แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าคุซายะนั้นมีต้นกำเนิดมาจากหมู่เกาะอิซุ ทั้งนี้ เนื่องจากหมู่เกาะอิซุเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟที่ไม่เหมาะสำหรับการเกษตร หมู่เกาะอิซุจึงต้องจ่ายภาษีที่ดินในรูปแบบของเกลือที่มีคุณค่าซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้จากทะเล ดังนั้น ในอดีตที่ผ่านมา การถนอมเกลือเพื่อเตรียมปลาแห้งจะต้องมีการใช้น้ำเกลือแช่ปลาซ้ำอยู่หลายครั้ง ซึ่งทำให้ปลาแห้งมีรสชาติที่โดดเด่น ในขณะเดียวกัน เชื่อกันว่า “คุซายะ” ได้รับการตั้งชื่อตาม “คูซายาโมโระ” ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของมุโรอาจิ (ปลาทูแขก) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ปลาที่ใช้ทำคุซายะมาแต่ดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางคนก็คิดว่า “คุซายะ” ได้รับการตั้งชื่อโดยคนขายปลาในสมัยเอโดะเนื่องจากมีกลิ่นฉุน (คูไซ) และด้วยเหตุนี้ จึงมีบางสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าการจินตนาการว่าคนในสมัยเอโดะจะอภิปรายประเด็นนี้อย่างไรบ้าง
การสำรวจวัฒนธรรมอาหารของโตเกียวด้วยวิธีนี้ทำให้เราเข้าใจดีขึ้นว่าผู้คนในสมัยเอโดะนั้นใช้ชีวิตและเพลิดเพลินไปกับการรับประทานอาหารของพวกเขาอย่างไรบ้าง ซึ่งทำให้เรานึกถึงความลึกซึ้งของอาหารเอโดะอีกครั้ง
ผักพื้นบ้านที่สืบทอดมาจากสมัยเอโดะทั่วพรมแดนต่าง ๆ ในภูมิภาคมีส่วนอย่างมากต่อการเกิดวัฒนธรรมอาหารของชาวเอโดะและยังคงมีบทบาทสำคัญในกรุงโตเกียวในปัจจุบันอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของหัวไชเท้าเนริมะไดคนที่ใช้สำหรับเบตตาราซึเกะ และวาซาบิโอคุทามะที่ใช้สำหรับเอโดมาเอะซูชิ เป็นต้น
อันที่จริงแล้ว อาหารพื้นเมืองของมหานครโตเกียวนั้นมีความหลากหลายพอ ๆ กับลักษณะภูมิประเทศของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การจับตาดูว่าวัฒนธรรมอาหารของโตเกียวนั้นจะพัฒนาต่อไปอย่างไรในขณะที่ต้องพยายามสืบสานขนบธรรมเนียมในอดีตควบคู่ไปด้วย