จังหวัดโทยามะ

อาหารที่พัฒนาขึ้นภายในเทือกเขาทาเตยามะและอ่าวโทยามะ

โทยามะหันหน้าออกไปทางตอนกลางของเกาะฮอนชูทางฝั่งทะเลญี่ปุ่น ล้อมรอบด้วยภูเขาทางทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก ภูมิประเทศของบริเวณนี้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และรวมถึงเทือกเขาทาเตยามะในเทือกเขาแอลป์ตอนเหนือที่มีภูเขาสูง 3,000 เมตร ไปจนถึงอ่าวโทยามะ ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ปลาธรรมชาติที่มีน้ำลึกประมาณ 1,000 เมตร ทำให้ภูมิทัศน์มีความสูงต่างกันรวมทั้งสิ้น 4,000 เมตร แม่น้ำไหลเชี่ยวหลายสายที่ไหลลงมาจากภูเขาทำให้แผ่นดินกลายเป็นรูปพัด ที่ราบชินคาวะอันตระการตา ที่ราบโทยามะ และที่ราบโทนามิแผ่กว้างไปทางทิศตะวันออก โอบล้อมอ่าวโทยามะไว้ สภาพภูมิอากาศที่หลากหลายทำให้เกิดอาหารที่อุดมไปด้วยความหลากหลาย

ผู้ให้ความร่วมมือในการรายงาน: โทโมยูกิ อิมาโจ (สมาคมเชฟแห่งโทยามะ)

ขุมสมบัติแห่งอาหารทะเลที่รังสรรค์โดยหุบเขาใต้ทะเลและชั้นน้ำทะเล

อ่าวโทยามะ ซึ่งมักเรียกกันว่าเขตอนุรักษ์ปลาตามธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด พื้นทะเลประกอบด้วยหุบเขาใต้ทะเลที่เรียกว่า “ไอกาเมะ” และมีหุบเขาหลายแห่ง เป็นแหล่งอาศัยที่ดีเยี่ยมของปลาและสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ภายในอ่าวมีน้ำทะเลสามประเภท ได้แก่ น้ำผิวดินชายฝั่งที่มีความเค็มต่ำ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือของแม่น้ำ กระแสน้ำอุ่นสึชิมะที่อยู่ใต้น้ำผิวดิน และชั้นของน้ำทะเลลึกเย็นที่พื้นทะเล ปลาที่ชอบน้ำทะเลแต่ละประเภทจะมารวมตัวกันที่นี่ โดยมีปลากว่า 500 สายพันธุ์จาก 800 สายพันธุ์ที่พบในทะเลญี่ปุ่นอาศัยอยู่ที่นี่

ภาพถ่าย: องค์กรการท่องเที่ยวแห่งโทยามะ (บริษัทมหาชน)

ในบรรดาปลาที่พบที่นี่ ปลาหางเหลืองหรือที่เรียกกันว่า “ราชาแห่งอ่าวโทยามะ” กุ้งขาวหรือที่เรียกกันว่า “อัญมณีแห่งอ่าวโทยามะ” และปลาหมึกหิ่งห้อยหรือที่เรียกกันว่า“ความลึกลับของอ่าวโทยามะ” เป็นส่วนหนึ่งในปลาหลายชนิดที่ได้รับการรับรองจากแบรนด์โทยามะ และเป็นส่วนสำคัญของอาหารท้องถิ่น เมื่อไม่นานมานี้ เกงเกะซึ่งเป็นปลาทะเลน้ำลึกที่เคยถูกโยนทิ้งอยู่บ่อยๆ ได้รับความนิยมเนื่องจากมีรสชาติที่อร่อยและอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจุบันการบริโภคปลาเหล่านี้เป็นไปได้เพราะมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายและเทคโนโลยีการแช่แข็งที่ทันสมัย

ภาพถ่าย: องค์กรการท่องเที่ยวแห่งโทยามะ (บริษัทมหาชน)

ความวิเศษของอ่าวโทยามะนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เป็นแหล่งตกปลาที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ทิวทัศน์ยังงดงามตระการตามากเสียจน โอโตโมะ โนะ อิเอโมจิ เขียนบทกวีเกี่ยวกับอ่าวแห่งนี้ในมังโยชูซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมกวีนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น และทัศนียภาพอันงดงามตระการตาของเทือกเขาทาเตยามะที่มองออกไปเห็นมหาสมุทรนั้นก็ทำให้สุขล้นใจเมื่อได้เห็น

สิ่งแวดล้อมมอบน้ำที่รสชาติดีเพื่อหล่อเลี้ยงพืชผล

ภาพถ่าย: องค์กรการท่องเที่ยวแห่งโทยามะ (บริษัทมหาชน)

เมื่อคุณหันความสนใจไปที่ผืนดิน ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่คุณจะสังเกตเห็นความอุดมสมบูรณ์ของน้ำที่นี่ เทือกเขาทาเตยามะเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ โดยน้ำมาจากหิมะที่สะสมอยู่บนภูเขาในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะละลายและไหลลงสู่แม่น้ำในที่สุด ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่สองในสามของจังหวัด และทำหน้าที่เป็นเขื่อนที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยที่ฝนและหิมะละลายจะถูกกรองให้เป็นน้ำสะอาด ความลาดชันของภูมิประเทศส่งเสริมกระบวนการนี้ แม่น้ำโอยาเบะ จินซู และคุโรเบะ พร้อมด้วยแม่น้ำสายหลักอีก 7 สายที่ไหลผ่านจังหวัด มอบน้ำคุณภาพสูงเนื่องจากน้ำไหลเร็ว ซึ่งช่วยลดมลพิษและทำให้มีการหมุนเวียนของออกซิเจนสูง น้ำพุ แม่น้ำ และสวนสาธารณะ 66 แห่งในจังหวัดได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อแหล่งน้ำที่มีชื่อเสียงของโทยามะ โดยแปดแห่งนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนอยู่ในรายชื่อแหล่งน้ำ 100 แห่งที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น

ภาพถ่าย: โทยามะ มาสุซุชิ เกียวโด คุมิไอ

น้ำที่มีคุณภาพสูงยังมีส่วนช่วยให้พืชผลที่ปลูกที่นั่นมีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเฟื่องฟู นี่คือเหตุผลที่อาหารท้องถิ่นมากมายมีข้าวเป็นส่วนผสม เช่น มาซูซูชิและโอะเซะซุชิ ซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของโทยามะ และขนมเค้กข้าวหลากหลายชนิดสำหรับเทศกาลพิเศษ

โกโตะที่อุดมไปด้วยธรรมชาติและโกเซย์ที่มีกลิ่นของคานาซาวะ

ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของโทยามะมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม พื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยเนินเขาคุเรฮะคิวเรียวกุที่ทอดผ่านศูนย์กลางของที่ราบโทยามะนั้น แยกออกจากกันเป็นโกโตะทางทิศตะวันออกและโกเซย์ทางทิศตะวันตก
คุโรเบะซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดระหว่างอ่าวโทยามะและทาเตยามะนั้นอุดมไปด้วยภูเขา แม่น้ำ และทะเล มีชื่อเสียงเนื่องจากมีน้ำพุบริสุทธิ์ที่ทอดตัวไปตามริมฝั่งแม่น้ำคุโรเบะ ในอิคุจิซึ่งหันหน้าไปทางอ่าว น้ำพุแห่งนี้เรียกว่า “โชซุ” และผู้คนใช้สำหรับดื่ม ทำอาหาร และซักผ้ามาเป็นเวลานาน น้ำคุณภาพสูงจากที่นี่ยังเหมาะสำหรับการทำเต้าหู้อีกด้วย
เมืองฮิมิตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัด และอยู่ที่ฐานตะวันออกของคาบสมุทรโนโตะ ติดกับอิชิกาวะ ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของคานาซาวะ หลังจากแคว้นคานาซาวะ (ครั้งหนึ่งเคยเรียกกันว่าแคว้นคางะ) ถูกล้มล้าง ที่นี่ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนานาโอะ จังหวัดชินกาวะ และเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดอิชิกาวะ ในปี 1883 ฮิมิแยกออกจากอิชิกาวะเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโทยามะ ประวัติศาสตร์นี้ส่งผลให้เกิดการมีอาหารร่วมกันกับคานาซาวะ

เราจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารและอาหารท้องถิ่นในโทยามะบริเวณอ่าวโทยามะและโทนามิ/โกคายามะพร้อมกับโมจิและโซนิ

<อ่าวโทยามะ>
อาหารที่ทำจากปลาและสาหร่ายทะเลสดตามฤดูกาลจากคิตะมาเอะบุเนะในโทยามะ

ภาพถ่าย: ร้านอาหารโคไซที่มองเห็นทิวทัศน์ในมุมกว้าง

อ่าวโทยามะเป็นที่ตั้งของท่าเรือประมงหลายแห่ง รวมทั้งในเมืองฮิมิ (ท่าเรือประมงฮิมิ) เมืองอิมิซุ (ท่าเรือประมงชินมินาโตะ) เมืองโทยามะ (ท่าเรือประมงอิวาเสะ) เมืองนาเมกาวะ (ท่าเรือประมงนาเมคาวะ) และเมืองคุโรเบะ (ท่าตกปลาคุโรเบะ) ท่าเรือแต่ละแห่งอยู่ใกล้กับแหล่งตกปลามากพอที่จะทำให้จับปลาที่สดที่สุดได้ นาเมกาวะมีผลผลิตปลาหมึกหิ่งห้อยมากที่สุดในจังหวัด โดยจะถึงฤดูของมันอยู่ในฤดูในฤดูใบไม้ผลิ และปลาหมึกหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงกับมิโซะน้ำส้มสายชูเป็นอาหารโปรดที่คุ้นเคยกันดีในครอบครัวต่างๆ ซึ่งบ่งบอกว่าถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

กุ้งขาวตัวใสสีชมพูอ่อนจะมีมากในฤดูร้อน โดยจะจับได้เฉพาะในชินมินาโตะและอิวาเสะ และผู้คนเคยนำมาใช้เฉพาะในน้ำซุปเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ รสชาติของกุ้งชนิดนี้ทำให้มันได้รับความสนใจและถูกนำมาใช้ในซาซิมิ ซูชิ และเทมปุระคาคิอาเกะอันหอมกรุ่น
ฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นฤดูของปูหิมะสีแดงซึ่งจะจับได้ในชินมินาโตะ นาเมกาวะ อุโอซุ และคุโรเบะ รสชาติของปูชนิดนี้ยอดเยี่ยมมากเพราะต้องใช้เวลาถึง 8 ถึง 10 ปีกว่าจะโตเต็มที่ในทะเลลึก มันมีเนื้อหนาและเต็มไปด้วยเนื้อ และเป็นที่นิยมเนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่ละลายในปาก

ภาพถ่าย: องค์กรการท่องเที่ยวแห่งโทยามะ (บริษัทมหาชน)

ฤดูหนาวเป็นฤดูของปลาหางเหลืองซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวจังหวัดมาช้านาน ผู้คนยกให้ปลาชนิดนี้เป็นผู้ประกาศความสำเร็จ มันจึงเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในเมนูสำหรับปีใหม่ โดยมีปลาหางเหลืองใส่หัวไชเท้าเป็นอาหารยอดนิยม ในยุคอโดะ มีการลำเลียงปลาหางเหลืองเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลทะเลจนถึงฮิดะ ชินชู และซูวะ ซึ่งเป็นที่ที่ปลาชนิดนี้มีราคาสูง ผู้คนเรียกถนนที่ใช้ลำเลียงปลาหางเหลืองว่า “บุริไคโดะ” (ถนนหางเหลือง)

ตั้งแต่ยุคเอโดะจนถึงยุคเมจิ คิตะมาอะบุเนะที่ดำเนินการในทะเลญี่ปุ่นได้นำอาหารขึ้นชื่อประจำท้องถิ่นจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาค และจะแวะจอดที่ท่าเรือริมอ่าวโทยามะ สินค้าที่มีผู้ซื้อมากที่สุดในขณะนั้นคือสาหร่ายทะเล (คอมบุ) จากฮอกไกโด ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์อาหารต่างๆ เช่น “คอมบุจิเมะ” และ “คอมบุมากิ” และทำให้อาหารที่ทำจากคอมบุแพร่หลายไปทั่วทั้งจังหวัด ทำให้โทยามะเป็นศูนย์กลางของสาหร่ายเคลป์ที่รู้จักกันในปัจจุบัน

<โทนามิ/โกคายามะ>
โฮอนโกะเรียวริ อาหารชินชูโอโคกุที่ใช้เวลาหนึ่งปีในการปรุง

ภาพถ่าย: องค์กรการท่องเที่ยวแห่งโทยามะ (บริษัทมหาชน)

โทนามิและโกคายามะตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดและอุดมไปด้วยธรรมชาติ บริเวณนี้อดยาวไปตามแม่น้ำโชงาวะและล้อมรอบด้วยภูเขาที่ลึกและสวยงาม มีหิมะตกหนักมากในฤดูหนาว และขึ้นชื่อว่ามีหิมะตกหนักเป็นพิเศษ โกคายามะใน นันโตะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกับชิราคาวาโกะในกิฟุ และบ้านสไตล์กัชโชท่ามกลางบรรยากาศในหมู่บ้านไอโนคุระกัชโชและซุงานุมะยังคงรักษาสไตล์ญี่ปุ่นคลาสสิกที่ชวนให้หวนคิดถึงอดีต

ภาพถ่าย: ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวโกคายามะ

ผู้คนเรียกโทยามะว่า “ชินชูโอโคกุ” เนื่องจากมีวัฒนธรรมโจโดชินชูที่หยั่งรากลึกในภูมิภาคนี้และมีความเกี่ยวพันกับศาสนาเป็นพิเศษ ในวันที่ 28 พฤศจิกายนของทุกปี ชาวบ้านจะจัดงานครบรอบการเสียชีวิตของ ชินรัน โชนิน ผู้ก่อตั้งโจโดชินชู ซึ่งรวมถึงพิธีรำลึกทางพุทธศาสนาที่เรียกว่าโฮอนโกะเรียวริ ซึ่งจัดขึ้นที่วัดต่างๆ และจะมีการเสิร์ฟอาหารสำหรับโฮอนโกะเรียวริพร้อมกับอาหารต้มและปรุงรสและซุป ประเพณีของพวกเขาในการเก็บรักษาผักและพืชป่าที่ดีที่สุดในปีไว้สำหรับอาหารเหล่านี้ได้รับการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน

อาหารมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่ที่นี่ เต้าหู้โกคายามะ นิโมโนะ ทำจากเต้าหู้แข็งที่ลือกันว่าจะคงรูปร่างไว้เมื่อผูกด้วยเชือก และอิโตโกะนิโมโนะจะปรุงด้วยถั่วอะซูกิซึ่งเป็นอาหารโปรดของ ชินรัน โชนิน และผักประเภทหัว

อุณหภูมิที่ต่ำและความชื้นสูงของสภาพอากาศที่มีหิมะปกคลุมเป็นเอกลักษณ์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำอาหารหมักดอง การผลิตคาบุระซูชิซึ่งเป็นอาหารในฤดูหนาวที่ขึ้นชื่อของโทยามะมีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ยุคเอโดะ หัวผักกาดขาวเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารช่วงสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ ดังนั้นการเพาะปลูกจึงเริ่มต้นขึ้นหลังจากปลูกข้าวเสร็จแล้ว และเริ่มเก็บเกี่ยวในปลายเดือนตุลาคม มีการทำคาบุระซูชิในครัวเรือนและโรงผลิตสูงสุดในเดือนธันวาคม

<โมจิและโซนิ อาหารที่มีอยู่ทั่วทั้งโทยามะ>
โมจิหลากหลายรูปแบบช่วยแต่งแต้มเหตุการณ์สำคัญในชีวิตคนในท้องถิ่น

ภาพถ่าย: โทยามะ-เคน โชคุเซย์คัตสึ ไคเซน ซุยฮิน เรนรากุ เคียวกิไค

โทยามะขึ้นชื่อในด้านการผลิตข้าวและมีการซื้อโมจิและข้าวเหนียวมากที่สุดในประเทศ การทำอาหารและขนมโดยใช้โมจิและข้าวเหนียวปรากฏให้เห็นบ่อยในเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของผู้คน วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่หมุนเวียนอยู่รอบๆ โมจิในพื้นที่นั้นมีมากมาย การมอบโคโรโระโมจิให้เพื่อนบ้านเพื่อภาวนาให้พวกเขาให้กำเนิดทารกที่น่ารัก กล่าวกันว่า มิกกะ โนะ ดังโงะจิรุ จะเพิ่มน้ำนมแม่ถ้ารับประทานในวันที่สามหลังคลอด พ่อแม่ของเจ้าสาวจะมอบฮาริเซย์โกะให้แก่สามีของลูกสาวในวันส่งท้ายปีที่พวกเขาแต่งงานเพื่อช่วยเรื่องงานเย็บปักถักร้อย และจะมีการแจกคุโรมาเมะโอโกวะในงานศพและงานชุมนุม

โซนิซึ่งเป็นอาหารทั่วไปในช่วงปีใหม่ก็ควรค่าแก่การสนใจเช่นกัน โมจิรูปสี่เหลี่ยมซึ่งปรุงรสด้วยซอสที่ทำจากซีอิ๊วนี้มีส่วนผสมที่หลากหลายมากมายต่างทั่วทั้งจังหวัด ทางตะวันออกอาหารจานนี้อุดมไปด้วยส่วนผสม อย่างเช่น อาหารทะเลและผักประเภทหัวทาง ส่วนทางตะวันตกจะเรียบง่ายด้วยการใช้ส่วนผสมเพียงเล็กน้อย ความแตกต่างในการปรุงสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของภูมิภาคของทั้งสอง และรวมเอาความพิเศษของท้องถิ่นจากทั้งสองภูมิภาคไว้ด้วยกัน

จังหวัดโทยามะ อาหารพื้นเมืองหลัก