ประตูสู่อาหารญี่ปุ่นและจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมอาหารสมัยใหม่
จังหวัดนางาซากิมีคาบสมุทรและแหลมอยู่หลายแห่ง มีแนวชายฝั่งที่ผสมผสานอ่าวและปากน้ำต่าง ๆ อย่างซับซ้อน ซึ่งมีความยาว 4184 กม. เป็นอันดับสองในญี่ปุ่นรองจากฮอกไกโด ทั้งนี้ พื้นที่ภายในของจังหวัดฯ จะมีลักษณะเฉพาะ โดยเป็นพื้นที่ที่ไม่มีพื้นที่ราบ มีแต่ภูเขาและเนินเขาเป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นได้จากชื่อเล่นของเมืองนางาซากิคือ "เมืองแห่งขุนเขา" ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าจังหวัดนางาซากินั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลผลิตจากทะเลและภูเขาส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้นั่นเอง
ร้านอาหารที่ให้ความร่วมมือเรื่องข้อมูลต่าง ๆ: Nagasaki Prefectural Government Restaurant Chez Dejima
จนกระทั่งมีวัฒนธรรมอาหารต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามามากมาย วัฒนธรรมอาหารของนางาซากินั้นเป็นวัฒนธรรมที่เรียบง่าย โดยอาหารส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยปลาต่าง ๆ เช่น ปลาซาร์ดีน และส่วนผสมต่าง ๆ ที่ปลูกในพื้นที่ อาทิ มันหวาน ทั้งนี้ เนื่องจังหวัดนางาซากิมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกับเอเชียตะวันออก นางาซากิจึงได้ทำการค้ากับประเทศจีนและคาบสมุทรเกาหลีเป็นเวลามาช้านาน โดยเฉพาะการค้ากับประเทศจีนและโปรตุเกสจะเป็นการค้าที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และด้วยเหตุนี้ ส่วนผสมอาหารและอาหารเมนูหลากหลายชนิดได้ริเริ่มนำเข้ามาจากประเทศเหล่านี้
ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงยุคสมัยเอโดะ เมื่อประเทศญี่ปุ่นถูกปิดกั้นจากโลกภายนอก ชาวดัตช์ที่อาศัยอยู่ที่เกาะเดจิมะจำนวนมากได้ริเริ่มนำอาหารตะวันตกต่าง ๆ เข้ามาที่นางาซากิ ซึ่งนำไปสู่การเกิดอาหารเมนูใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็นผลให้วัฒนธรรม "อาหารวะกะรัน (Wakaran)" ได้เฟื่องฟูในนางาซากิ ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวเป็นการผสมผสานอาหารญี่ปุ่น อาหารตะวันตก และอาหารจีน รวมทั้งอาหารชิปโปกุ (อาหารบนโต๊ะกลมสไตล์จีน) อาหารที่นำมาจากต่างประเทศ ประกอบด้วย มันฝรั่ง หัวหอม มะเขือเทศ และสตรอเบอร์รี่ โดยในส่วนของอาหารนั้น ต้นแบบของอาหารต่าง ๆ ได้มีการนำมาถ่ายทอดในนางาซากิ ไม่ว่าจะเป็น หมูตุ๋น ฮาโตชิ (ขนมปังปิ้งกุ้ง) นางาซากิเทมปุระ และฮิคาโดะ (เนื้อหั่นลูกเต๋าและผักในซุป) ขณะเดียวกัน น้ำตาลและขนมหวานก็เป็นอาหารสำคัญที่มีการสืบทอดมาเช่นกัน ทั้งนี้ ในปัจจุบัน วัตถุดิบ อาหาร และเครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่บริโภคกันทั่วไปในญี่ปุ่น แต่ทั้งหมดนั้นล้วนริเริ่มนำเข้ามาที่นางาซากิก่อนทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนางาซากิจึงเป็นประตูสู่อาหารญี่ปุ่นและเป็นสถานที่ที่วัฒนธรรมอาหารสมัยใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น
ปัจจุบัน พื้นที่วัฒนธรรมอาหารของจังหวัดนางาซากิแบ่งออกเป็น 6 แห่งใหญ่ ๆ ได้แก่ เขตนางาซากิ (เมืองนางาซากิ เมืองโทคิสึ เมืองนางาโย) เขตตอนกลาง (เมืองอิซาฮายะ เมืองโอมุระ เมืองฮิงาชิโซโนงิ เมืองคาวาทานะ เมืองฮาซามิ) เขตชิมาบาระ (เมืองชิมาบาระ เมืองอุนเซ็น เมืองมินามิชิมะบะระ) เขตตอนเหนือ (เมืองซาเซโบะ เมืองฮิราโดะ เมืองมัตสึอุระ เมืองซาสะ เมืองนิชิอุมิ) เขตโกโตะ (เมืองโกโตะ เมืองชินคามิโกโตะ เมืองโอจิกะ) และเขตอิกิสึชิมะ (เมืองอิกิ และเมืองสึชิมะ) โดยในแต่ละพื้นที่ วัฒนธรรมอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ได้เกิดขึ้นและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีฉากหลังเป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป
< เขตนางาซากิ (เมืองนางาซากิ เมืองโทคิสึ เมืองนางาโย) >
รสชาติแบบเรียบ ๆ ของฮันเปนสีดำ (เค้กปลา) และกุ้งซากุระ
เมืองนางาซากิตั้งอยู่ในภาคกลางของจังหวัดนางาซากิ โดยมีท่าเรือนางาซากิ ซึ่งเมื่อมองหันไปที่ท่าฯ จะเป็นท่าเรือธรรมดา ๆ ที่สวยงามล้อมรอบด้วยภูเขาทั้ง 3 ด้าน เป็นท่าเรือที่การประมงมีความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ เมืองดังกล่าวยังเหมาะสำหรับการพาณิชย์อีกด้วย ทำให้การค้ากับจีน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ดำเนินไปอย่างแข็งขัน เกิดการริเริ่มนำอาหารนานาชนิดเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ที่ต่อมากลายเป็นอาหารจานพิเศษของนางาซากินั้นก็เกิดจากสภาพแวดล้อมนานาชาติแบบนี้นั่นเอง ในบรรดาอาหารที่มีต้นกำเนิดจากจีน หนึ่งในอาหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือหมูตุ๋น (หมูตงพอ) โดยในช่วงสมัยญี่ปุ่นแยกตัวโดดเดี่ยว หมูตงพอได้มีการจัดเตรียมในสไตล์ญี่ปุ่นเพื่อให้กลายเป็นอาหารชิปโปกุเรียกว่า “โทบานิ” ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นหมูคาคุนิ (หมูตุ๋น) ที่ญี่ปุ่นได้นำมาเป็นอาหารของตัวเอง โดยในนางาซากิ วิธีการปรุงหมูตงพอจะยังคงความใกล้เคียงกับต้นฉบับเป็นหลัก โดยเป็นการนำซี่โครงหมูตุ๋นกับหนังเคี่ยวในน้ำซุปรสหวาน ทั้งนี้ ถึงแม้ว่ารสชาติของหมูจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังแตกต่างจากหมูคาคุนิที่เป็นที่นิยมทั่วประเทศ
ในบรรดาอาหารที่โปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ได้ริเริ่มนำเข้ามาและเริ่มได้รับการยอมรับแล้วก็คือ เทมปุระนางาซากิ ซึ่งคล้ายกับอาหารชุบแป้งทอดและฮิคาโดะที่มาจากสตูว์และพาสต้า โดยเทมปุระฯ เป็นอาหารตุ๋นที่เคลือบด้วยพายร่วนสไตล์ตะวันตก ทั้งนี้ มีคนบางคนได้กล่าวไว้ว่าเทมปุระนางาซากิเป็นต้นกำเนิดของเทมปุระญี่ปุ่นแบบฉบับทั่วไป แต่อย่างไรก็ดี ทั้งสองเมนูนี้มีชื่อเสียงในฐานะของขึ้นชื่อในเมืองนางาซากิโดยทั่วไปอยู่แล้ว
“ถนนแห่งน้ำตาล” ที่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขนมหวานญี่ปุ่น
สิ่งที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในบรรดาสินค้าที่มีการขนถ่ายที่เดจิมะในช่วงสมัยญี่ปุ่นแยกตัวโดดเดี่ยวก็คือน้ำตาลและขนมหวาน โดยสิ่งเหล่านี้ได้มีการส่งไปยังโอซาก้า เกียวโต และเอโดะผ่านเส้นทางนางาซากิไคโด ซึ่งเป็นเส้นทางจากนางาซากิไปยังซากะและโคคุระ และในที่สุดก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการทำอาหารและขนมหวานของญี่ปุ่นครั้งใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อตอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ จังหวัดและเมืองแต่ละแห่งในคิวชูที่มีเส้นทางนางาซากิไคโดตัดผ่านได้ตั้งชื่อเส้นทางดังกล่าวว่าเป็น "ถนนแห่งน้ำตาล" เพื่อเป็นการส่งเสริมการฟื้นฟูท้องถิ่น
< เขตตอนกลาง (เมืองอิซาฮายะ เมืองโอมุระ เมืองฮิงาชิโซโนงิ เมืองคาวาทานะ เมืองฮาซามิ) >
นย์รวมอาหารจากปลาวาฬที่ล้อมรอบด้วยอ่าวสามแห่ง
เขตตอนกลางของจังหวัดนางาซากิตั้งอยู่ตรงกลางจังหวัดฯ โดยประมาณ เผชิญหน้ากับอ่าวสามแห่ง ได้แก่ อ่าวทาจิบานะ อ่าวโอมุระ และอ่าวอิซาฮายะ ซึ่งบริเวณภายในพื้นที่เขตฯ เป็นบริเวณที่ภูเขาทาระกลายเป็นแหล่งน้ำ และมีแม่น้ำฮอนเมียวไหลผ่านอยู่ที่นั่น ซึ่งเป็นระบบแม่น้ำประเภท A (การจำแนกประเภทแม่น้ำของญี่ปุ่น) แห่งเดียวในจังหวัดฯ เท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เช่นนี้ ทำให้การประมงและการเกษตรเกิดความรุ่งเรืองในพื้นที่มาตั้งแต่โบราณกาล นำไปสู่การสร้างสรรค์อาหารมากมายโดยใช้ปลาวาฬที่จับได้จากทะเลโดยรอบ ตลอดจนอาหารพื้นเมืองที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเฉพาะของภูมิภาคอีกด้วย
ในจังหวัดนางาซากิ การล่าปลาวาฬได้มีการฝึกฝนมาตั้งแต่ยุคสมัยโจมง โดยในช่วงยุคสมัยเอโดะ จะมีการนำปลาวาฬที่จับได้ในทะเลโดยรอบมารวมกันไว้ที่ฮิกาชิโซโนงิในอ่าวโอมุระ และกระจายไปยังบริเวณต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมการกินปลาวาฬ แม้กระทั่งทุกวันนี้ ปลาวาฬมักจะนิยมนำมากินในเทศกาลต่าง ๆ และว่ากันว่าจังหวัดนางาซากิ เป็นจังหวัดที่มีการบริโภคเนื้อปลาวาฬต่อหัวสูงที่สุดในญี่ปุ่น ทั้งนี้ สตูว์ปลาวาฬเป็นหนึ่งในอาหารจากปลาวาฬที่ปรากฏในยุคปัจจุบัน ซึ่งมักนิยมรับประทานกันในเขตตอนกลางเป็นสตูว์กับมันฝรั่งและเนื้อปลาวาฬ
เมืองอิซาฮายะ เป็นเมืองที่มีการปลูกข้าว ผักและผลไม้มาตั้งแต่สมัยโบราณ มีอาหารพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจำนวนมากที่ใช้ผักมากมาย โดยมีตัวอย่างทั่วไปคือ นุปเป้ (Nuppe) ซึ่งเป็นอาหารเนื้อแน่นที่ทำโดยใช้ผักเคี่ยว เช่น เผือก รากโกโบ หัวไชเท้า และแครอท ทั้งนี้ โดยพื้นฐานแล้ว นุปเป้เป็นอาหารมังสวิรัติ แต่บางครั้งก็มีการเติมเนื้อปลาวาฬหรือเนื้อไก่เข้าไปและเสิร์ฟในโอกาสเทศกาล
<เขตชิมาบาระ (เมืองชิมาบาระ เมืองอุนเซ็น เมืองมินามิชิมะบะระ)>
อาหารพื้นเมืองที่เกิดจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
เขตชิมาบาระเป็นเขตคาบสมุทรที่ถูกล้อมรอบด้วยน้ำเกือบทั้งหมด ด้วยทะเลอาริอาเกะทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและอ่าวทาจิบานะทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เขตฯ มีอุตสาหกรรมการประมงที่คึกคักมาอย่างยาวนาน อีกทั้งในภาคกลางของเขตฯ ก็มีภูเขาฟุเก็น (Fugen) และภูเขาเฮเซชินซัน (Heisei Shinzan) รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ทางเกษตรกรรมมากมายที่มีการเพาะปลูกในพื้นที่จากภูเขาเหล่านั้นขยายออกไปยังพื้นที่ราบ นอกจากนี้ อาหารแบบดั้งเดิมต่าง ๆ มากมายในพื้นที่เขตนี้ก็เป็นอาหารที่ล้วนเกิดขึ้นจากส่วนผสมที่มีอยู่มากมายตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และเหตุบังเอิญในอดีตอย่างลึกซึ้ง เตาหลอมเหล็กนิรายามะในเมืองอิซุโนะกุนิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า การต่อเรือ และอุตสาหกรรมถ่านหิน โดยคาบสมุทรอิซุได้รับการยอมรับว่าเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018
มีการกล่าวกันว่ากุโซนิ (Guzoni) เป็นอาหารที่อามาคุสะ ชิโร่ ซึ่งเป็นแม่ทัพของกลุ่มกบฏชิมาบาระในปี ค.ศ. 1637 ได้คิดค้นทำเป็นคนแรกเมื่อเขาและผู้ติดตามชาวคริสต์จำนวน 37,000 คนถูกปิดล้อมในปราสาทของพวกเขา เพื่อหล่อเลี้ยงความแข็งแกร่งและความแข็งแรงสำหรับ การต่อสู้ที่ยืดเยื้อ แม้แต่ในปัจจุบัน ซุโกนิได้กลายเป็นอาหารที่เสิร์ฟกันที่บ้านในช่วงเทศกาลต่าง ๆ อาทิ เทศกาลปีใหม่และวันเทศกาลอื่น ๆ ทั้งนี้ ปกติแล้ว ซุโกนิเป็นอาหารที่ทำด้วยการนำเค้กข้าวและส่วนผสมอื่น ๆ มาต้มในน้ำซุปในหม้อดินเผาและรับประทานตามสภาพที่เป็นอยู่
โรคุเบะเป็นอาหารพื้นเมืองที่กล่าวกันว่าเกิดขึ้นในช่วงทุพภิกขภัยซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1792 เมื่อแผ่นดินไหวจากภูเขาไฟทำให้เกิดสึนามิที่ทำลายพื้นที่การเกษตรเสียหายอย่างรุนแรง ในช่วงเวลานั้น ผู้คนจะรับประทานมันหวานเพื่อเป็นอาหารหลักในการเอาตัวรอดจากทุพภิกขภัย เนื่องจากมันหวานเป็นพืชที่เติบโตได้แม้ในดินที่แห้งแล้ง แต่อย่างไรก็ตาม ชายชื่อโรคุเบะจากหมู่บ้านฟุคาเอะ (ปัจจุบันคือฟุคาเอะโช ณ เมืองมินามิชิมาบาระ) ได้มีแนวคิดการทำเส้นบะหมี่จากแป้งมันหวานที่ใช้สำหรับอาหารที่เน่าเสียยาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกล่าวกันว่าอาหารดังกล่าวคือต้นแบบอาหารของโรคุเบะที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ โรคุเบะเคยเป็นอาหารของคนจน แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นอาหารพื้นเมืองที่เรียบง่ายแต่อร่อยและมีรสชาติหลากหลาย เช่น การปรุงรสชาติโดยใช้มันหวานพันธุ์ที่มีการปรับปรุงใหม่ ๆ ฯลฯ
< เขตตอนเหนือ (เมืองซาเซโบะ เมืองฮิราโดะ เมืองมัตสึอุระ เมืองซาสะ เมืองนิชิอุมิ) >
การถนอมอาหารที่เน่าเสียยากและอาหารเฉลิมฉลองอย่างนัมบัง
เขตตอนเหนือตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดนางาซากิ มีทะเลที่หันหน้าเข้าหากันซึ่งมีเกาะอยู่ประปราย รวมทั้งภูเขาและเนินเขาที่อยู่บริเวณภายในเขตฯ ซึ่งขยายไปจนถึงแนวชายฝั่ง ส่งผลให้เขตฯ เกิดรูปแบบแผ่นดินที่มีพื้นที่ราบอยู่ไม่กี่แห่ง อีกนัยหนึ่ง แม้ว่าเขตนี้เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการล่าปลาวาฬและกิจกรรมการประมงอื่น ๆ แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่ที่นำไปสู่การทำเกษตรกรรม ดังนั้น สภาพแวดล้อมเช่นนี้จึงทำให้เกิดอาหารแบบดั้งเดิมที่ ไม่เหมือนใคร เช่น ยูเดโบชิไดคน (หัวไชเท้าต้มและแห้ง) ซึ่งเป็นอาหารที่เน่าเสียยาก
ในทางกลับกัน หากพูดกันในเชิงภูมิศาสตร์ เขตตอนเหนือนั้นจะตั้งอยู่ที่ปลายสุดด้านทิศตะวันตกสุดของญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ ดังนั้น เขตฯ จึงมีประวัติศาสตร์การค้ากับจีนและเกาหลี รวมถึงชาวยุโรปมาอย่างช้านาน ซึ่งให้กำเนิดอาหารต่าง ๆ มากมายที่ได้รับอิทธิพลจากการค้าดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สเต็กมะนาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกองทัพอเมริกันที่ประจำการอยู่ในเมืองซาเซโบะ ได้เป็นเมนูที่ถูกคิดค้นขึ้นและกลายเป็นอาหารจานพิเศษของที่นี่อีกด้วย
ว่ากันว่าอารุมาโดะเป็นแป้งเปียกใส่ไข่ที่มีการทำครั้งแรกในพื้นที่ฮิราโดะในช่วงสมัยญี่ปุ่นแยกตัวโดดเดี่ยว โดยกล่าวกันว่าชื่อสไตล์ตะวันตกอย่าง อารุมาโดะนั้นมาจากภาษาดัตช์คำว่า "almatore" (หมายถึงเพื่อห่อ) หรือ "armado" ในภาษาโปรตุเกส (หมายถึงติดอาวุธ) ทั้งนี้ เมื่อผ่าอารุมาโดะออกเป็นมาเป็นสองส่วน คุณจะเห็นว่าไข่จะมีสีแดงรอบ ๆ เส้นรอบวง นอกจากนั้น อารุฯ ยังเป็นอาหารยอดนิยมสำหรับเทศกาลต่าง ๆ มาอย่างยาวนานอีกด้วย เช่น คุนจิ (เทศกาลเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง) และเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ อีกทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ร้านขายคามาโบโกะ (เค้กปลา) ในท้องที่ได้เริ่มขายอาหารดังกล่าวกันทั่วไปแล้วเพิ่มขึ้นหลายแห่ง ทำให้เป็นเมนูที่พบเห็นได้ทั่วไปบนโต๊ะอาหารค่ำมากยิ่งขึ้น
< เขตโกโตะ (เมืองโกโตะ เมืองชินคามิโกโตะ เมืองโอจิกะ) >
อาหารเส้นจากจีนทำให้เกิดโกโตะอุด้งอันเลื่องชื่อ
เขตโกโตะ (หมู่เกาะโกโตะ) ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือนางาซากิ 100 กม. และเป็นจุดที่อยู่ด้านทิศตะวันตกสุดของคิวชู โดยน่านน้ำที่อยู่ใกล้เขตฯ เป็นหนึ่งในแหล่งการประมงที่ดีที่สุดในญี่ปุ่นตะวันตกเนื่องจากอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นสึชิมะและกระแสน้ำจากชายฝั่ง อีกทั้งอุตสาหกรรมการประมงได้เข้ามามีบทบาทในเขตนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ และว่ากันว่าในสมัยเอโดะ เขตดังกล่าวยังเคยมีความเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการล่าปลาวาฬอีกด้วย
ในทางกลับกัน การเพาะปลูกข้าวกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีความเฟื่องฟูเนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กมาก ดังนั้น เกษตรกรรมจึงมุ่งเน้นไปที่การเพาะปลูกเมล็ดพืชเล็ก ๆ และมันฝรั่งมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ คันโคโระ ซึ่งเป็นอาหารดั้งเดิมประเภทไม่เน่าเปื่อยที่ทำด้วยการหั่นมันหวานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ถือเป็นสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในความดั้งเดิมนี้ และเนื่องจากเขตโกโตะตั้งอยู่ห่างจากคาบสมุทรเกาหลีเพียง 80 กม. ทำให้ในอดีต เขตโกโตะเริ่มมีวัฒนธรรมการทำอาหารจากเกาหลีและจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังเกิดการสร้างสรรค์อาหารที่เอกลักษณ์ไม่เหมือนใครออกมามากมายอีกด้วย โมจิคันโคโระ (Kankoro Mochi) เป็นเค้กข้าวที่ทำจากการผสมคันโคโระซึ่งเป็นอาหารที่ไม่เน่าเสียง่าย โดยเป็นการผสมระหว่างมันหวานที่นำไปตากแดดให้แห้ง และข้าวเหนียวที่นำมาทุบให้เป็นแป้งเปียก ทั้งนี้ ในอดีต เมื่อโมจิฯ ได้ถูกนำมาทำเป็นขนมที่ไม่เน่าเสียง่ายสำหรับฤดูหนาวนั้น โมจิฯ เป็นแค่เค้กข้าวธรรมดาที่มีความหวานมาจากมันหวานเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โมจิฯ ได้กลายเป็นสิ่งที่คล้ายกับวากาชิ (ขนมหวานญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม) ที่ได้มีการเพิ่มน้ำตาลเข้าไป และกำลังได้รับความนิยมในฐานะที่เป็นอาหารพิเศษพื้นเมืองไปเสียแล้ว
เชื่อกันว่าอูด้งโกโตะแบบดั้งเดิมได้ริเริ่มนำเข้ามาในญี่ปุ่นโดยทูตญี่ปุ่นประจำราชวงศ์ถังซึ่งแวะที่เขตโกโตะในระหว่างเดินทางกลับไปที่จีน ขณะเดียวกัน งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้ชี้ให้เห็นว่าอูด้งดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากบะหมี่โซเมนในเขตหยานถาน อำเภอหย่งเจีย มณฑลเจ้อเจียงของจีน วิธีพื้นเมืองหลัก ๆ ในการรับประทานอูด้งโกโตะก็คือวิธี “จิโกะคุทากิ (Jigoku-taki)” โดยจะเป็นการนำเส้นอูด้งโกโตะแห้งที่ดึงมือด้วยน้ำมันดอกเคมีเลียลงไปต้มในหม้อเหล็ก แล้วทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม จากนั้นนำไปจุ่มในน้ำซุปที่ทำจากปลาบินที่จับมาจากนอกชายฝั่งโกโตะนั่นเอง
< เขตอิกิสึชิมะ (เมืองอิกิ และเมืองสึชิมะ) >
การเพาะปลูกบัควีทไทชู (Taishu) ตั้งแต่โบราณกาล
อิกิและสึชิมะเป็นเกาะในทะเลระหว่างเกาะคิวชูและคาบสมุทรเกาหลี โดยทั้งสองเกาะเป็นเกาะที่ทำการค้ากับคาบสมุทรเกาหลีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีประเพณีการทำอาหารที่หลากหลายซึ่งริเริ่มนำเข้ามาจากคาบสมุทรดังกล่าวและทวีป กล่าวคือ สำหรับเกาะอิกิ เมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว เกาะอิกิได้เริ่มผลิตโชจูข้าวบาร์เลย์ (สุราชนิดหนึ่ง) ซึ่งต่อมาเรียกว่าอิกิโชจู จากการริเริ่มนำเทคนิคการกลั่นมาจากจีน เนื่องจากเกาะอิกิมีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ส่วนเกาะสึชิมะ จะเป็นเกาะที่มีพื้นที่เพาะปลูกหายาก ดังนั้น ในยุคโจมง จึงได้มีการริเริ่มการเพาะปลูกบัควีทไทชู ซึ่งคล้ายกับบัควีทสายพันธุ์ดั้งเดิมที่กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากจีนตอนใต้และเทือกเขาหิมาลัย ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่างดังกล่าวได้เป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั่วญี่ปุ่นในฐานะของขึ้นชื่อพื้นเมืองแล้ว
ควีทไทชู (Taishu Buckwheat) เป็นบัควีทชนิดหนึ่งที่คล้ายกับพันธุ์ดั้งเดิมซึ่งริเริ่มนำเข้ามาจากทวีปผ่านคาบสมุทรเกาหลีในช่วงยุคโจมง ทั้งนี้ เนื่องจากเกาะสึชิมะเป็นเกาะที่ห่างไกล จึงมีโอกาสน้อยที่จะมีการผสมพันธุ์บัควีทไทชูกับบัควีทพันธุ์อื่น ๆ อีกทั้งบัควีทขนาดเล็กที่ยังคงมีการรักษาลักษณะสายพันธุ์ดั้งเดิมไว้ก็ยังคงมีการเพาะปลูกบนเกาะดังกล่าวอยู่เช่นเดิม นอกจากนี้ เส้นบะหมี่ที่ทำมาจากบัควีทไทชูจะมีความยืดหยุ่นสูงเมื่อนำไปทุบและมีรสขมเล็กน้อย และในปี ค.ศ. 2018 บัควีคไทชูได้รับการจดทะเบียนภายใต้ระบบป้องกันสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการเพาะปลูกบัควีทในญี่ปุ่น