จังหวัดโอกินาว่า

เสน่ห์เอกลักษณ์เฉพาะตัวและจังหวะชีวิตที่ช้าลงแบบสงบผ่อนคลาย ซึ่งถูกหล่อเลี้ยงอยู่ในสภาพอากาศอันอบอุ่นและอ่อนโยน

จังหวัดโอกินาวะตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น อยู่ระหว่างญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่และไต้หวันในทะเลจีนตะวันออก ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ จำนวน 160 เกาะ รวมทั้งเกาะหลักโอกินาวะ (เกาะหลักและใหญ่ที่สุด) เกาะมิยาโกะจิมะ เกาะอิชิงากิจิมะ และเกาะอิริโอโมเตะจิมะ ซึ่งจากเกาะเหล่านี้ มีจำนวน 47 เกาะที่มีผู้คนอาศัยอยู่

ด้วยความร่วมมือจาก: Total Wellness Project Okinawa (สมาคมนิติบุคคลทั่วไป)

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

งหวัดโอกินาวะมีความโดดเด่นด้วยสภาพอากาศกึ่งเขตร้อนอันอบอุ่น ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่ไม่สามารถพบได้ในจังหวัดหรือเขตการปกครองอื่นในประเทศญี่ปุ่น กล่าวคือ โอกินาวะมีลักษณะเฉพาะจากการมีความแปรปรวนของอุณหภูมิเพียงเล็กน้อย แม้แต่ในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวที่สุดแล้วก็ตาม โดยอุณหภูมิแทบจะไม่ลดลงต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสเลย ขณะเดียวกัน ในแต่ละปี จะมีมากกว่า 100 วันที่จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ด้วยสภาพอากาศที่อบอุ่นเช่นนี้ โอกินาวะจึงเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่สวยงามและไม่เหมือนใคร มีมหาสมุทรที่สวยงามพร้อมทิวทัศน์ชายหาดอันกว้างใหญ่ ปลาหลากสีสัน แนวปะการัง ดอกไม้ที่บานตลอดทั้งปี และสัตว์ป่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดย ณ สถานที่แห่งนี้ เวลาจะเคลื่อนที่ไปอย่างช้า ๆ กว่าที่อื่น ๆ และเกาะแต่ละเกาะก็ได้ริเริ่มวัฒนธรรมของตนเองและแตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งมีการเฉลิมฉลองในรูปแบบเทศกาลต่าง ๆ ที่มีหลากหลายรูปแบบ ทำให้เกาะเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งความเพลิดเพลินสำหรับคนในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้มาเยือนอีกด้วย

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

วยประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้ในปี ค.ศ. 2000 จังหวัดโอกินาวะได้รับเกียรติด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก (UNESCO) ว่าเป็น “แหล่งกูซูกุและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของอาณาจักรรีวกีว (Gusuku Sites and Related Properties of the Kingdom of Ryukyu)” ซึ่งประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของอาณาจักรโบราณดังกล่าว ตลอดจนวิถีชีวิตและความเชื่อของผู้คนในอาณาจักรฯ นั้น ยังคงถูกส่งต่อไปยังคนรุ่นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยคำว่า "กูซูกุ" หมายถึงปราสาท และมรดกทางวัฒนธรรมนี้ถือเป็นลักษณะเด่นของโอกินาวะที่สะท้อนให้เห็นว่าเกาะเหล่านี้ได้สร้างวัฒนธรรมนานาชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างไร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากการค้าขายไม่เพียงแต่กับประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศจีน เกาหลี และประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น อาหารของโอกินาวะก็มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เช่นกัน เมื่อได้เผยต่อวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ แล้ว

อาหารชาววังและอาหารพื้นเมือง รสชาติและทักษะตามรูปแบบการทำอาหารสองแบบที่มีการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง

อาหารดั้งเดิมของโอกินาวะ เป็นอาหารที่มีสไตล์ที่ยังคงมีการพัฒนาและถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า “อาหารรีวกีว” โดยพื้นฐานของอาหารดังกล่าวสามารถพบได้จากรูปแบบการปรุงอาหาร 2 รูปแบบ คือ "อาหารชาววัง" และ "อาหารพื้นเมือง"

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

มื่อตอนที่โอกินาวะเคยเป็นประเทศเอกราชของอาณาจักรรีวกีวนั้น "อาหารชาววัง" จะถูกจัดเตรียมไว้สำหรับใช้ในงานและพระราชพิธีของจักรวรรดิ หรือเพื่อให้ความบันเทิงให้แก่แขกต่าง ๆ ทั้งนี้ อิทธิพลจากประเทศญี่ปุ่นและจีนมีความสำคัญต่อโอกินาวะ ดังเห็นได้จากความสัมพันธ์กับจีนผ่านระบบทางการทูต (เรียกว่าซัปโปะ) มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เช่นเดียวกับญี่ปุ่นผ่านระบบซัทซึมะ ไซบัน บูเกียว (ผู้พิพากษาประจำถิ่น) โดยอาหารและทักษะต่าง ๆ ที่ประกอบด้วย "อาหารชาววัง" ที่ถูกพัฒนาเป็น "อูตูอิมูจิ" (อาหารต้อนรับ) ที่ใช้ต้อนรับแขกวีไอพีจากประเทศต่าง ๆ ได้รับการขัดเกลาเป็นรูปแบบของพิธี ซึ่งว่ากันว่าพิธีดังกล่าวเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงหลังจากยุคสมัยเมจิอีกด้วย นอกจากนี้ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของ "อาหารชาววัง" นั้นก็คือตุนดาบุน ซึ่งเป็นตัวแทนของเครื่องเขินแบบดั้งเดิมของรีวกีว โดยเครื่องเขินเหล่านี้มาในหลากหลายรูปทรง เช่น สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม หรือวงกลม และทำหน้าที่เป็นภาชนะใส่อาหารเรียกน้ำย่อย ซึ่งมีจานเล็ก ๆ ล้อมรอบอยู่ตรงกลาง ก่อเป็นรูปทรงและสีสันที่สวยงาม เต็มไปด้วยอาหารที่คงไว้ซึ่งรสชาติในตัวมันเอง แม้แต่ตอนที่นำเสิร์ฟแบบเย็นแล้วก็ตาม ทั้งนี้ คำว่าตุนดาบุนมีความหมายรวมถึงอาหารที่เสิร์ฟเป็นการภายในด้วยเช่นกัน โดยมีอาหารอย่าง “ฮานะอิกะ” (ปลาหมึกดอกไม้) ซึ่งเป็นปลาหมึกที่ถูกหั่นอย่างชำนาญ ซี่โครงหมูนึ่งด้วยซอสงาดำที่เรียกว่า “มินุดารุ” และ “ชิชิคามาโบโกะ” ซึ่งเป็นลูกชิ้นปลาที่ทำจากเนื้อปลาบดผสมกับเนื้อ

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

“อาหารพื้นเมือง” เป็นชื่อที่บ่งบอกว่าเป็นอาหารที่ผู้คนรับประทานไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารพื้นเมืองแบบดั้งเดิมมีรากฐานอย่างลึกซึ้งตามแนวคิดของ “อิโชกุโดเก็น” ซึ่งหมายถึงการรับประทานอาหารที่สมดุลนำไปสู่สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ซึ่งกระบวนการคิดที่อยู่เบื้องหลังอิโชกุโดเก็นนั้นก็คือว่าอาหารและยารักษาโรคมีพื้นฐานมาจากส่วนผสมอันเดียวกัน ซึ่งในโอกินาวะ สิ่งเหล่านี้จะเรียกว่า “คุซุยมิน” (อาหารที่ทำหน้าที่เป็นยา) และ “นูจิกุซุย” (ยาแห่งชีวิต) ยกตัวอย่างเช่น “อิคะซุมิจิรุ” ซุปที่ทำมาจากหมึกของปลาหมึก ใช้รักษาอาการเลือดคลั่งที่ศีรษะหรืออาการปวดหัว “ฮิจาจิรุ” อาหารที่ทำมาจากเนื้อแพะเคี่ยว ช่วยให้สตรีฟื้นตัวหลังจากคลอดบุตร และถือเป็นอาหารรักษาอาการเมื่อยล้าด้วยเนื่องจากคุณค่าทางโภชนาการสูง ฯลฯ ทั้งนี้ การใช้ส่วนผสมทางโภชนาการในโอกินาวะจะไม่ได้ใช้กันทั่วไปแบบจังหวัดอื่น ๆ เช่น มะระขี้นก บวบหอม และไทโม (รากเผือกชนิดหนึ่ง) โดยทั้งหมดนี้เป็นอาหารที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของภูมิอากาศกึ่งเขตร้อนและหมู่เกาะที่นำไปสู่การพัฒนาอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของโอกินาวะ นอกจากนี้ ลักษณะเฉพาะสำคัญของ "อาหารพื้นเมือง" ของโอกินาวะนั้นจะเป็นการใช้น้ำซุปโบนิโตหรือน้ำซุปหมูในบ่อยครั้ง โดยน้ำซุปโบนิโตของโอกินาวะนั้นจะเหมือนกับน้ำซุปโบนิโตแบบดั้งเดิมที่ทำมาจากโบนิโตแห้งที่ต้มในน้ำร้อน ส่วนน้ำซุปหมูของโอกินาวะจะใช้เนื้อและกระดูก และมักใช้ผสมกับน้ำซุปโบนิโตแบบดั้งเดิม ในขณะเดียวกัน ความสมดุลของโบนิโตและน้ำซุปหมูสำหรับเตรียมใช้ใน “โซบะโอกินาวะ” นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของครัวเรือนแต่ละครัวเรือนและร้านอาหารแต่ละแห่ง โดยยึดรสชาติเป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น คอมบุแห้ง (สาหร่ายเคลป์) และปลาหมึกแห้งก็มักใช้ใน “อาหารพื้นเมือง” เช่นกัน แต่ก็เป็นการบอกเป็นนัยให้เห็นชัดเจนว่าทั้งสองอย่างนี้มักนำมาใช้เป็นส่วนผสมมากกว่าที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในน้ำซุป

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

ตรงกันข้ามกับ "อาหารชาววัง" และ "อาหารพื้นเมือง" ซึ่งเป็นพื้นฐานของอาหารรีวกีว ในโอกินาวะก็ยังมีอาหาร "เกียวจิ เรียวริ" (อาหารตามงาน) อีกด้วย ซึ่งมีประเพณีที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในโอกินาวะนั้น การอธิษฐานขอให้มีการเก็บเกี่ยวที่ได้ผลผลิตที่ดี หรือการขอให้จับปลาทะเลตัวใหญ่ และกิจกรรมทางสังคมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโอกินาวะที่มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ ตลอดจนประเพณีที่สืบทอดมาจากประเทศจีน เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่หลากหลายที่เกิดขึ้นทั่วทั้งปี โดยในระหว่างกิจกรรมดังกล่าว ผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคนท้องถิ่นและญาติ ๆ มักจะรวมตัวกันเพื่อโอกาสในการดื่มสาเกและรับประทานอาหารร่วมกัน และเสริมสร้างพันธมิตรและความผูกพันต่อกัน รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับผู้คนและผืนแผ่นดินของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเซเมไซ (ช่วงเทศกาลกวาดสุสาน) เทศกาลบงตามปฏิทินจันทรคติ และงานรำลึกผู้วายชนม์ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทั่วทั้งจังหวัดและภูมิภาค อาหารที่กินจะมีการเสิร์ฟในกล่องเคลือบซ้อนที่เต็มไปด้วยซี่โครงหมูแบบไม่มีกระดูก คะมะโบะโกะ (ปลาต้ม) คอมบุ (สาหร่ายทะเล) และเต้าหู้ทอด และอาหารอื่น ๆ รวมทั้งหมด 9 อย่าง โดยจัดเรียงกันในรูปแบบโมซาอิค (เรียงกันคล้ายหมากรุก)

วัฒนธรรมอาหารดังกล่าวเป็นแหล่งที่มาของวัฒนธรรมการทำอาหารที่หลากหลายของโอกินาวะในปัจจุบัน และ ณ ที่นี้ เราขอแนะนำจังหวัดโอกินาวะโดยให้ดูแยกกันระหว่างโอกินาว่า ฮอนโตะ (เกาะหลัก) และเกาะห่างไกลต่าง ๆ ของโอกินาวะ

<เกาะหลัก >
เมนูหมูที่มีพื้นฐานมาจากแนวคิด “อิรุยโฮรุอิ”

ในจังหวัดโอกินาวะ มีเกาะห่างไกลที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวน 47 เกาะ ซึ่งทั้งหมดกินอาหารรีวกีวเหมือนกัน มีรูปแบบการปรุงอาหารที่มีพื้นฐาน มาจากเกาะหลักโอกินาวะ

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

นื้อหมู เป็นส่วนผสมอาหารที่ใช้บ่อยในโอกินาวะที่ผู้คนได้กินกันอย่างทั่วถึงจนมีสำนวนดั้งเดิมที่พูดถึงกันทั่วไป เช่น “เรากินทุก ๆ ส่วนของหมู ยกเว้นเสียงร้องของมัน” หรือ “เราเริ่มต้นที่หมูแล้วจบลงหมู” เป็นต้น โดยส่วนของหมูที่ผู้คนมักชอบกินกันบ่อย ๆ นั้นก็จะมีซี่โครงไม่มีกระดูกติดหนัง ซึ่งอาจนำมาเตรียมทำเป็น “ราฟุเตะ” ซึ่งเป็นการนำซี่โครงมาเคี่ยวช้า ๆ กับน้ำตาล ซีอิ๊ว และอะวาโมริ (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นเมืองที่กลั่นเหมือนกับโชจู) หรือ “อินามุโดจิ” ที่ทำมาจากมิโซะและเครื่องเคียงต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ ยังมี “นากามิจิรุ” (ซุปอวัยวะภายใน) เป็นซุปที่ทำจากเครื่องในหมู และ “อะชิ ทิบิจิ” (ซุปตีนหมู) ซึ่งเป็นอาหารที่นำหมูมาเคี่ยวช้า ๆ กับคอมบุและหัวไชเท้าไดคอน เป็นต้น และจากนั้นยังมี "จิ อิริจิ " (เลือดที่นำมาผัดและต้มในซอส) เป็นเมนูที่ปรุงโดยการนำเลือดมาผัดกับรากผักและส่วนผสมแห้ง ๆ แล้วต้มในซอสเหลว ทั้งนี้ ในประเพณีการกิน หมูทุกส่วน ตั้งแต่ผิวหนังไปจนถึงอวัยวะภายใน จะถือว่าหมูทุกส่วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าตามแนวคิดของ “อิรุอิ โฮรุอิ” ซึ่งเป็นปรัชญาจีนด้านการปรุงอาหารด้วยยา โดยมีการอ้างว่าหากบุคคลหนึ่งมีอาการเจ็บปวดหรือมีโรคภัยไข้เจ็บในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เขาสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินหมูในส่วนเดียวกับที่เจ็บปวดหรือมีโรค แม้ว่าอาหารประเภทเนื้อหมูจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่หมูก็ยังถือเป็นส่วนสำคัญของอาหารปีใหม่เช่นกัน ซึ่งมีความโดดเด่นมากจนวันปีใหม่ในโอกินาวะนั้นมักถูกเรียกว่าเป็น "เนื้อหมูปีใหม่" และเฉลิมฉลองด้วยการกินซุปต่าง ๆ เช่น "ซุปอินะมูโดจิ" "ซุปนากามิจิรุ" หรือ "ซุปโซกิจิรุ " อีกทั้งในสมัยโบราณ ประเพณีดังกล่าวยังเป็นประเพณีที่คนยากจนเฉลิมฉลองวันปีใหม่ด้วยการฆ่าหมูเลี้ยงและนำมาแต่งตัวในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

นจังหวัดโอกินาวะ เนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ผู้คนเพลิดเพลินไปกับการรับประทานมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อแพะก็มีการนำมารับประทานเช่นกัน โดยจะจัดเตรียมเป็นซาซิมิ (รับประทานดิบ) หรือเป็นซุปที่เรียกว่า “ฮิจาจิรุ” ซึ่งเป็นซุปที่ใช้ทุกส่วนของเนื้อและเครื่องในแกะ ยกเว้นส่วนกีบและเขา โดยนำมาเคี่ยวช้า ๆ ในหม้อใบใหญ่ โดยปกติแล้ว ซุปดังกล่าวจะรับประทานกันในกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ มักเสิร์ฟในช่วงงานเฉลิมฉลอง การชุมนุมให้กำลังใจ และพิธีรำลึกถึงการขึ้นโครงบ้านหรืออาคารใหม่ ในขณะเดียวกัน สำหรับเนื้อวัวจะเสิร์ฟเป็น “กิวจิรุ” หรือ ซุปเนื้อ เป็นอาหารพื้นเมืองที่นำเนื้อวัวมาเคี่ยวช้า ๆ กับ “ชิเดคุนิ” หรือที่เรียกว่า “ชิมะ-นินจิน” (แครอทสีเหลืองบนเกาะโอกินาวะ) ซึ่งเป็นผักหน้าหนาวนั่นเอง

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

นอกจากนี้ วัฒนธรรมอาหารเต้าหู้ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะเช่นกัน โดยเต้าหู้ที่ผลิตในจังหวัดโอกินาวะนั้นจะเรียกว่า “ชิมะโดฟุ” ซึ่งทำมาจากการแช่ถั่วเหลืองในน้ำ แล้วจากนั้นบด กรอง และเคี่ยว เติมรสขมและทำให้แข็งตัวกลายเป็นเต้าหู้โมเมน (เต้าหู้แข็ง) ทั้งนี้ ภายในจังหวัดฯ ชิมะโดฟุมักจะขายในขณะที่กำลังอุ่น ๆ อีกทั้งเนื่องจากเต้าหู้ดังกล่าวเป็นเต้าหู้ที่ไม่แตกง่าย จึงทำให้กลายเป็นส่วนผสมที่ทรงคุณค่าในอาหารทอดอีกด้วย เช่น ชานปูรุ (อาหารผัดโอกินาวะ) ฯลฯ ขณะเดียวกัน ยังมีเต้าหู้อีกรูปแบบที่เรียกว่า "ยูชิ โดฟุ" ซึ่งทำมาจากการเพิ่มรสขมเพื่อเริ่มกระบวนการทำให้แข็งตัว แต่ไม่ได้มีการนำมาใส่ลงในแม่พิมพ์ โดยมักนำมาใช้ในการปรุงอาหารพื้นเมืองประจำวันในจังหวัดโอกินาวะ ส่วน "เต้าหู้จิมามิโดฟุ" เป็นเต้าหู้สำหรับ "เกียวจิเรียวริ" เช่น งานกิจกรรมและงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ฯลฯ โดยเต้าหู้ชนิดนี้ทำมาจากการคั้นน้ำถั่วลิสงกับแป้งมันเทศที่นำมาละลายในน้ำ จากนั้นนวดให้เข้ากันแล้วนำไปทำให้แข็งตัว และเมื่อย้อนกลับไปในสมัยที่ถั่วลิสงเป็นอาหารอันโอชะที่หายากและล้ำค่า ถั่วลิสงจะรับประทานกันใน วันพิเศษเป็นอาหารมังสวิรัติ ทั้งนี้ “ชิมะโดฟุ” และ “จิมามิโดฟุ” ยังคงเป็นอาหารพื้นเมืองยอดนิยมของชาวโอกินาวะ และเมื่อไม่นานมานี้ เต้าหู้ดังกล่าวก็พบว่ามีขายนอกจังหวัดแล้วด้วย

< เกาะห่างไกล >
ประเพณีการทำอาหารของเกาะห่างไกล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเทศกาลและวัฒนธรรมของแต่ละเกาะ

แม้ว่าเกาะห่างไกลจะยึดอาหารรีวกีวที่กินในเกาะหลักโอกินาวะเป็นพื้นฐาน แต่เกาะแต่ละเกาะก็ได้ปรุงรสชาติอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองออกมาเช่นกัน

เอื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

กตัวอย่างเช่น ในหมู่เกาะยาเอยามะ มีอาหารพื้นเมืองที่เป็นลักษณ์ที่เรียกว่า “อิรากิมุน” เป็นอาหารที่ใช้มะละกอดิบ (ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "มะละกอยาไซ" และมีการรับประทานกันทั่วทุกภูมิภาคของจังหวัดโอกินาวะ) และน้ำซุปที่สกัดจากหมูลวกที่นำมาเคี่ยวกับเนื้อหมูและมะละกอในมิโซะ ทำให้ได้รสชาติฉบับแบบครอบครัว และว่ากันว่าอาหารชนิดนี้ใช้วัตถุดิบที่ปลูกกันเองที่บ้าน เช่น มะละกอที่พบได้ทั่วไปตามหลังบ้านและตามมุมบ้านในหมู่เกาะยาเอยามะ และมิโสะที่ทุกครัวเรือนนำมาใช้ทำอาหารดังกล่าวด้วยตนเอง

อื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

เกาะทาเคโทมิชิมะเป็นเกาะที่ยังคงรักษาภูมิทัศน์เมืองเก่าแบบคลาสสิกของจังหวัดโอกินาวะ โดยเป็นหนึ่งในเกาะที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายได้เดินทางมาเยือนเพื่อชมภูมิประเทศที่ยังไม่ถูกทำลาย ซึ่งกระจัดกระจายไปด้วยบ้านหลังคามุงกระเบื้องสีแดงและชิซา (รูปปั้นสิงโตโอกินาว่า) ที่ทำหน้าที่ปกป้องชั้นดาดฟ้าของบ้าน และมีเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดของเกาะคือ "เทศกาลทานาดุย" ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน 600 ปี และดึงดูดผู้มาเยือนจากในและนอกเกาะ โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนและตุลาคมตามปฏิทินจันทรคติเก่าแก่ของญี่ปุ่นเป็นระยะเวลา 9 วัน โดยเริ่มจากวันลิงป่า (Wood Monkey) และผู้เข้าร่วมงานเทศกาลทุกคนจะได้รับอาหารหมักดองที่จัดเตรียมไว้เพื่อโอกาสนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ ในวันก่อนและหลังการแสดงศิลปะการถวายบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบดั้งเดิม จะเป็นวันที่มีผู้คนพลุกพล่านเป็นพิเศษ ซึ่งในระหว่างการแสดงดังกล่าว จะมีการรับประทาน “อิยาจิ” ซึ่งเป็นอาหารหมักดองแบบโบราณ โดยเป็นการนำข้าวเหนียวมาผสมคลุกเคล้ากับถั่วอะซูกิกับข้าวฟ่างเหนียว แล้วจากนั้นนำไปปรุงต่อ ขณะเดียวกัน ในสมัยโบราณเมื่อมันหวานเป็นอาหารหลักประจำวัน “อิยาจิ” ได้เป็นอาหารพิเศษที่ชาวเกาะสามารถรับประทานได้ในช่วงเทศกาลดังกล่าว แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ “อิยาจิ” ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของ “เทศกาลทานาดุย” และนอกจากจะมีการรับประทานกันอย่างต่อเนื่องแล้ว อิยาจิก็ยังคงถูกส่งต่อไปยังคนรุ่นหลังเช่นกันผ่านงานสัมมนาและกิจกรรมเกี่ยวกับการสอนศิลปะการเตรียมอาหารชนิดนี้ ณ เกาะแห่งนี้

อื้อเฟื้อภาพโดย: ©สำนัก Okinawa Convention & Visitors

ในทำนองเดียวกัน บนเกาะหลักโอกินาวะ ก็มีอาหารที่ผ่านการเปลี่ยนรสชาติเช่นกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับวิธีการปรุงแบบฉบับของเกาะฯ อีกทั้งยังได้เป็นอาหารอันเป็นที่รักของที่นี่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “กิวจิรุ” ที่ทำมาจากการเคี่ยวชิมะนินจิน (แครอทสีเหลืองบนเกาะโอกินาวะ) และเนื้อวัวในน้ำซุปโบนิโต จนกลายเป็นซุปใสกินกับเกลือและซีอิ๊วขาว ขณะเดียวกัน ในเมืองมิยาโกะจิมะ (บนเกาะมิยาโกะ) ซึ่งเป็นเมืองที่มี หาดทรายขาวละเอียดและมหาสมุทรสีเขียวมรกตอันสวยงาม อาหารชนิดนี้จะมีความแตกต่างออกไปด้วยการนำมากินกับมิโซะ ทั้งนี้ ร้านอาหารบางแห่งในเมืองมิยาโกะจิมะก็เสิร์ฟ “กิวจิรุ” ที่ทำจากเนื้อวัวมิยาโกะด้วย ซึ่งเป็นวัวสายพันธุ์ที่หายากและมีมูลค่าสูง

จังหวัดโอกินาว่า อาหารพื้นเมืองหลัก